warm2

Friday, March 28, 2008

ปรากฏการณ์โลกร้อน


ปรากฏการณ์โลกร้อน (อังกฤษ: global warming) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิอากาศกับภาวะโลกร้อน 2


“โลกหรี่ลง” (Global dimming) หรือการค่อยๆ ลดลงของความอาบรังสี (irradiance) ที่ผิวของโลกอาจมีส่วนในการบรรเทาปรากฏการณ์โลกร้อนในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา) จากปี พ.ศ. 2503 – 2533 ละอองลอยที่เป็นกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้แถลงด้วยความมั่นใจ 66-90% ว่าละอองลอยโดยมนุษย์ร่วมกับผลของภูเขาไฟมีส่วนทำให้ปรากฏการณ์โลกร้อนลดลงบางส่วน และว่าแก๊สเรือนกระจกน่าจะทำให้โลกร้อนมากกว่าที่สังเกตได้ถ้าไม่มีปัจจัย โลกหรื่ลง มาช่วย
การลดถอยของโอโซน (Ozone depletion) การที่ปริมาณรวมของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ลดลงอย่างสม่ำเสมอถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์โลกร้อนอยู่บ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกันอยู่จริง แต่ความเกี่ยวข้องระหว่างปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ก็ยังไม่หนักแน่นพอ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิอากาศกับภาวะโลกร้อน1

มีประเด็นปัญหาอื่นๆ อีกมากที่ยกขึ้นมาว่าเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์โลกร้อน หนึ่งในนั้นคือค่าความเป็นกรด-ด่างของมหาสมุทร (ocean acidification) การเพิ่ม CO2 ในบรรยากาศเป็นการเพิ่ม CO2 ที่ละลายในน้ำทะเล CO2 ที่ละลายในน้ำทะเลทำปฏิกิริยากับน้ำกลายเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งทำให้มหาสมุทรมีความเป็นกรดมากขึ้น ผลการศึกษาประเมินว่า ค่า pH ที่ผิวทะเลเมื่อครั้งเริ่มยุคอุตสาหกรรมมีค่า 8.25 และได้ลดลงมาเป็น 8.14 ในปี พ.ศ. 2547 คาดว่าค่า pH จะลดลงอีกอย่างน้อย 0.14 ถึง 0.5 หน่วย ภายในปี พ.ศ. 2643 เนื่องจากมหาสมุทรดูดซับ CO2 มากขึ้น ทว่าสิ่งมีชีวิตจุลชีพและระบบนิเวศจะดำรงอยู่ได้ในช่วง pH แคบๆ ปรากฏการณ์นี้จึงอาจทำให้เกิดปัญหาการสูญพันธุ์ อันเป็นผลโดยตรงจากการเพิ่มปริมาณ CO2 ในบรรยากาศ ผลกระทบที่ตามมาก็คือห่วงโซ่อาหารจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อสังคมมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเลอยู่มาก
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังคม-การเมืองกับโลกร้อน 3

อีกประเด็นหนึ่งที่อภิปรายกันก็คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (newly developed economies) เช่น อินเดียและจีนควรบังคับระดับการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกสักเท่าใด คาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตราการปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และบางทีเหตุการณ์นั้นอาจเกิดขึ้นไปแล้วด้วยตามรายงานเมื่อ พ.ศ. 2549 แต่จีนยืนยันว่าตนมีข้อสัญญาในการลดการปลดปล่อยน้อยกว่าที่ประมาณกัน เพราะเมื่อคิดอัตราการปล่อยต่อรายหัวแล้วประเทศของตนยังมีอัตราน้อยกว่าสหรัฐฯ ถึงหนึ่งต่อห้า อินเดียซึ่งได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัดรวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อื่นๆ หลายแห่งก็ได้ยืนยันอ้างสิทธิ์ในทำนองเดียวกันอย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ได้ยืนยันต่อสู้ว่าถ้าตนจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก จีนก็ควรต้องรับภาระนี้ด้วย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังคม-การเมืองกับโลกร้อน2

ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้จุดประกายให้เกิดการอภิปรายเพื่อชั่งน้ำหนักผลดีจากการจำกัดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกทางอุตสาหกรรมและแก๊สเรือนกระจกกับค่าใช้จ่ายของการจำกัดดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ได้มีการถกเถียงกันในหลายประเทศเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรับเอาพลังงานทางเลือกชนิดต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน องค์การและบริษัท เช่น "สถาบันวิสาหกิจการแข่งขัน" (Competitive Enterprise Institute) และเอกซ์ซอนโมบิล (ExxonMobil) ได้เน้นสถานการณ์จำลองการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเชิงอนุรักษ์นิยม ในขณะเดียวกันก็เน้นให้เห็นแนวโน้มค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของการควบคุมที่เข้มงวดเกินไปในทำนองเดียวกันก็มีการเจรจาทางสิ่งแวดล้อมหลายฝ่าย และผู้มีบทบาทเด่นในสาธารณะหลายคนพากันรณรงค์ให้เห็นถึงแนวโน้มความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและเสนอให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลบางแห่งได้เข้าร่วมโดยการลดขนาดกำลังเครื่องจักรของตนลงในรอบหลายปีที่ผ่านมา หรือเรียกร้องให้มีนโยบายลดปรากฏการณ์โลกร้อน
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังคม-การเมืองกับโลกร้อน1

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา การรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้สาธารณชนเริ่มตระหนักและมีการอภิปรายทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่ยากจน โดยเฉพาะแถบแอฟริกาดูเหมือนจะมีความเสี่ยงมากในการได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน ทั้งที่ตนเองปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกมาน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากจากประเทศสหรัฐและออสเตรเลีย และทำให้สหรัฐฯ นำมาอ้างเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว ในโลกตะวันตก แนวคิดที่ว่ามนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรปมากกว่าในสหรัฐฯ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบรรเทาภาวะโลกร้อน 3

แม้จีนและอินเดียจะได้รับการยกเว้นในฐานะของประเทศกำลังพัฒนา แต่ทั้งสองประเทศก็ได้ให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตแล้ว ขณะนี้ จีนอาจปล่อยแก๊สเรือนกระจกรวมต่อปีในปริมาณแซงสหรัฐฯ ไปแล้ว ตามผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่าได้เรียกร้องให้ลดการปลดปล่อยเป็นสองเท่าเพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษและปรากฏการณ์โลกร้อน
คณะทำงานกลุ่มที่ 3 ของ IPCC รับผิดชอบต่อการทำรายงานเกี่ยวกับการบรรเทาปรากฏการณ์โลกร้อนและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลดีของแนวทางต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2550 ในรายงานผลการประเมินของ IPCC ได้สรุปว่าไม่มีเทคโนโลยีใดเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถรับผิดชอบแผนบรรเทาการร้อนขึ้นของบรรยากาศในอนาคตได้ทั้งหมด พวกเขาพบว่ามีแนวปฏิบัติที่สำคัญและเทคโนโลยีหลายอย่างในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น การส่งจ่ายพลังงาน การขนส่ง การอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรม ที่ควรนำมาใช้เพื่อลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก ในรายงานประเมินว่า “การเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์” (Carbon dioxide equivalent: CDE) ในภาวะเสถียรระหว่าง 445 และ 710 ส่วนในล้านส่วนในปี พ.ศ. 2573 จะทำให้ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของโลกแปรอยู่ระหว่างการเพิ่มขึ้น 0.6% และลดลง 3%
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบรรเทาภาวะโลกร้อน 2

ข้อตกลงแรกๆ ของโลกว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดแก๊สเรือนกระจกคือ “พิธีสารเกียวโต” ซึ่งเป็นการแก้ไข “กรอบงานการประชุมใหญ่ของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (UNFCCC) ซึ่งเจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 160 ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากกว่า 65% ของทั้งโลกมีเพียงสหรัฐฯและคาซักสถานสองประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน ประเทศสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดในโลก สนธิสัญญานี้จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2555 และได้มีการเจรจาระหว่างชาติที่เริ่มเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 เพื่อร่างสนธิสัญญาในอนาคตเพื่อใช้แทนฉบับปัจจุบัน
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับบลิว บุช อ้างว่าพิธีสารเกียวโตไม่ยุติธรรมและวิธีที่ใช้นั้นไม่ได้ผลในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ประเทศสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพราะยังมีการยกเว้นให้ประเทศอื่นๆ ในโลกมากกว่า 80% ของประเทศที่ลงนามรวมทั้งหมด ประเทศที่เป็นศูนย์รวมประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ จีน และ อินเดีย แต่กระนั้น ก็ยังมีรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ริเริ่มโครงการรณรงค์วางแนวปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามพิธีสารเกียวโต ตัวอย่างเช่น “การริเริ่มแก๊สเรือนกระจกภูมิภาค” ซึ่งเป็นโปรแกรมการหยุดและซื้อเครดิตการปล่อยแก๊สเรือนกระจกระดับรัฐซึ่งประกอบด้วยรัฐต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบรรเทาภาวะโลกร้อน 1

การที่นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเห็นพ้องต้องกันว่าอุณหภูมิของโลกจะร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ชาติต่างๆ บริษัทและบุคคลต่างๆ จำนวนมากเริ่มลงมือปฏิบัติเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลกหรือหาวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง นักสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มสนับสนุนให้มีปฏิบัติการต่อสู้กับปรากฏการณ์โลกร้อน มีหลายกลุ่มที่ทำโดยผู้บริโภค รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่างๆ มีการแนะนำว่าให้มีการกำหนดโควต้าการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยอ้างว่าการผลิตมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการปลดปล่อย CO2
ในภาคธุรกิจก็มีแผนปฏิบัติการเพื่อตอบสนองภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและการมุ่งใช้พลังงานทางเลือก นวัตกรรมสำคัญชิ้นหนึ่งได้แก่การพัฒนาระบบการซื้อแลกการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Emissions trading) โดยบริษัทกับรัฐบาลร่วมกันทำความตกลงเพื่อลดหรือเลิกการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้อยู่ในจำนวนที่กำหนดหรือมิฉะนั้นก็ใช้วิธี “ซื้อเครดิต” จากบริษัทอื่นที่ปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่ำกว่าปริมาณกำหนด
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาวะโลกร้อนกับความมั่นคง

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา (Center for Strategic and International Studies) และ ศูนย์เพื่อความมั่นคงใหม่ของอเมริกา (Center for a New American Security) ได้ตีพิมพ์รายงานเน้นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อความมั่นคงของชาติ ผลกระทบต่อความมั่นคงดังกล่าวรวมถึงการเพิ่มการแข่งขันทางทรัพยากรระหว่างประเทศ การอพยพของผู้คนจำนวนมหาศาลจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด ความท้าทายต่อการรวมตัวกันของประเทศสำคัญที่เนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และจากผลกระทบต่อเนื่องของปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ความเสี่ยงต่อการใช้อาวุธในการสู้รบกันรวมทั้งความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางอาวุธนิวเคลียร์
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เศรษฐกิจกับภาวะโลกร้อน

ผลการคาดคะเนการเพิ่มอุณหภูมิสำหรับช่วงการจำลองแบบเสถียร (แถบสี) เส้นสีดำตรงกลางของแถบแรเงาแสดง “การประมาณค่าที่ดีที่สุด” เส้นสีแดงและน้ำเงินคือเขตสิ้นสุด จากผลงานของ PCC AR4
นักเศรษฐศาสตร์บางคนพยายามที่จะประมาณค่าความเสียหายรวมอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทั่วโลก การประมาณค่าดังกล่าวยังไม่สามารถไปถึงข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ในการสำรวจการประมาณค่า 100 ครั้ง มูลค่าความเสียหายเริ่มตั้งแต่ 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคาร์บอนหนึ่งตัน (tC) (หรือ 3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน) ไปจนถึง 350 เหรียญฯ ต่อคาร์บอนหนึ่งตัน (หรือ 95 เหรียญฯ ต่อคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน) โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 43 เหรียญฯ ต่อคาร์บอนหนึ่งตัน (12 เหรียญฯ ต่อคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน) รายงานที่ตีพิมพ์แพร่หลายมากชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของผลกระทบทางเศรษฐกิจคือ “สเติร์นรีวิว” ได้แนะว่าภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่งอาจลดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของโลกลงได้ถึง 1% และในกรณีสถานการณ์จำลองที่แย่ที่สุดคือค่าการบริโภครายบุคคลของโลก (global per capita consumption) อาจลดลงถึง 20%วิธีวิจัยของรายงาน ข้อแนะนำและข้อสรุปถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเศรษฐศาสตร์ท่านอื่นหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวถึงสมมุติฐานการสอบทานของการให้ค่าส่วนลดและการเลือกเหตุการณ์จำลองในขณะที่คนอื่นๆ สนับสนุนความพยายามในการแจกแจงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจแม้จะไม่ได้ตัวเลขที่ถูกต้องออกมาก็ตาม
ในข้อสรุปค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme) ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของผู้ประกัน ผู้ประกันใหม่และธนาคารเกี่ยวกับความเสียหายจากสถานการณ์ลมฟ้าอากาศที่เพิ่มมากขึ้น ในภาคเศรษฐกิจอื่นก็มีทีท่าที่จะประสบความยากลำบากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ รวมทั้งการเกษตรกรรมและการขนส่งซึ่งตกอยู่ในภาวการณ์เสี่ยงเป็นอย่างมากทางเศรษฐกิจ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผลภาวะโลกร้อน 3

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอีก ได้แก่การเพิ่มระดับน้ำทะเลจาก 110 มิลลิเมตรไปเป็น 770 มิลลิเมตร ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2643[, ผลกระทบต่อเกษตรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น, การหมุนเวียนกระแสน้ำอุ่นที่ช้าลงหรืออาจหยุดลง, การลดลงของชั้นโอโซน, การเกิดพายุเฮอร์ริเคนและเหตุการณ์ลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่รุนแรงมากขึ้น, ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลลดลง และการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ เช่น มาเลเรียและไข้เลือดออก การศึกษาชิ้นหนึ่งทำนายว่าจะมีสัตว์และพืชจากตัวอย่าง 1,103 ชนิดสูญพันธุ์ไประหว่าง 18% ถึง 35% ภายใน พ.ศ. 2593 ตามผลการคาดคะเนภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วงที่ผ่านมายังมีน้อยมาก และหนึ่งในงานวิจัยเหล่านี้ระบุว่า อัตราการสูญพันธุ์ที่คาดการณ์กันไว้นี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผลภาวะโลกร้อน 2

การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และความเสียหายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อน อาจยิ่งแย่หนักขึ้นจากการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ แม้ในเขตอบอุ่นผลการคาดคะเนบ่งว่าจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์โลกร้อนบ้าง เช่นมีการเสียชีวิตจากความหนาวเย็นลดน้อยลง บทสรุปของผลกระทบที่เป็นไปได้และความเข้าใจล่าสุดปรากฏในรายงานผลการประเมินฉบับที่ 3 ของ IPPC โดยกลุ่มทำงานคณะที่ 2 (IPCC Third Assessment Report) , สรุปรายงานการประเมินผลกระทบฉบับที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report) ที่ใหม่กว่าของ IPCC รายงานว่ามีหลักฐานที่สังเกตเห็นได้ของพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้นในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2513 ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มอุณหภูมิของผิวน้ำทะเล ทว่าการตรวจจับเพื่อดูแนวโน้มในระยะยาวมีความยุ่งยากซับซ้อนมากเนื่องจากคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการเก็บตามปกติของการสังเกตการณ์โดยดาวเทียม บทสรุประบุว่ายังไม่มีแนวโน้มที่เห็นได้โดยชัดเจนในการประมาณจำนวนพายุหมุนเขตร้อนโดยรวมของทั้งโลก
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผลภาวะโลกร้อน1

แม้การเชื่อมโยงสภาวะภูมิอากาศแบบจำเพาะบางอย่างเข้ากับปรากฏการณ์โลกร้อนจะทำได้ยาก แต่อุณหภูมิโดยรวมของโลกที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการถดถอยของธารน้ำแข็ง(glacial retreat) การลดขนาดของอาร์กติก (Arctic shrinkage) และระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้าทั้งปริมาณและรูปแบบอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความถี่และความรุนแรงของลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น ผลแบบอื่นๆ ก็ยังมีอีกเช่นการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลิตผลทางเกษตร การเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำ การลดปริมาณน้ำลำธารในฤดูร้อน การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและการเพิ่มของพาหะนำโรค
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็นับว่าเป็นผลส่วนหนึ่งจากปรากฏการณ์โลกร้อน รายงานฉบับหนึ่งของ IPCC เมื่อปี พ.ศ. 2544 แจ้งว่าการถดถอยของธารน้ำแข็ง การพังทลายของชั้นน้ำแข็งดังเช่นที่ชั้นน้ำแข็งลาร์เสน การเพิ่มระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ฝนตก และการเกิดลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เหล่านี้นับเป็นผลสืบเนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อนทั้งสิ้น แม้จะมีการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านรูปแบบที่เกิด ความแรงและความถี่ที่เกิด แต่การระบุถึงสภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์โลกร้อนอย่างเฉพาะเจาะจงก็ยังเป็นไปได้ยาก ผลที่คาดคะเนอีกประการหนึ่งได้แก่การขาดแคลนน้ำในบางภูมิภาค และการเพิ่มปริมาณหยาดน้ำฟ้าในอีกแห่งหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณหิมะบนภูเขา รวมถึงสุขภาพที่เสื่อมลงเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีv

จำลองภูมิอากาศ 2

แบบจำลองภูมิอากาศในปัจจุบันให้ผลค่อนข้างดีจากการเปรียบเทียบกับการสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ไม่สามารถจำลองรูปแบบต่างๆ ของภูมิอากาศได้หมดแบบจำลองเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายความผันแปรของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างประมาณ พ.ศ. 2453 – 2488 ได้กระจ่าง ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์ อย่างไรก็ดี แบบจำลองก็ได้แนะให้เห็นได้ว่า การร้อนขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาเกิดจากการแผ่ขยายของแก๊สเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมมนุษย์
แบบจำลองภูมิอากาศโลกเพื่อใช้คาดคะเนภูมิอากาศในอนาคตส่วนใหญ่ จะบังคับให้ใส่เหตุการณ์จำลองแก๊สเรือนกระจกเข้าไปด้วย เนื่องจากอ้างอิงตามรายงานพิเศษว่าด้วยเหตุการณ์จำลองการปลดปล่อย (SRES: Special Report on Emissions Scenarios) ของ IPCC แบบจำลองบางส่วนอาจทำโดยรวมเอาการจำลองวัฏจักรของคาร์บอนเข้ามาด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ผลตอบกลับที่ดี แม้การตอบสนองจะไม่ค่อยแน่นอนนัก (ภายใต้สถานการณ์จำลอง A2 SRES จะให้ผลการตอบสนองของ CO2 แปรค่าเพิ่มขึ้นระหว่าง 20 ถึง 200 ppm) การศึกษาแบบสังเกตการณ์บางชิ้นก็แสดงการป้อนกลับออกมาค่อนข้างดี
เมฆในแบบจำลอง นับเป็นต้นเหตุหลักของความไม่แน่นอนที่ใช้ในปัจจุบัน แม้จะมีความก้าวหน้าในการแก้ปัญหานี้มากอยู่แล้วก็ตาม ขณะนี้ยังคงมีการอภิปรายถกเถียงกันอยู่ว่าแบบจำลองภูมิอากาศได้ละเลยผลป้อนกลับทางอ้อมที่สำคัญและผลป้อนกลับของตัวแปรสุริยะไปหรือไม่
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จำลองภูมิอากาศ 1

การคำนวณปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทำขึ้นก่อน พ.ศ. 2544 จากแบบจำลองต่างๆ ที่หลากหลายแบบภายใต้เหตุการณ์จำลองการปลดปล่อย A2 ของ SRES ด้วยสมมุติฐานว่าไม่มีมาตรการลดการปลดปล่อยเลย
การกระจายการร้อนของผิวโลกทางภูมิศาสตร์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544 – 2553) คำนวณโดยแบบจำลองภูมิอากาศ (HadCM3) โดยตั้งสมมุติฐานสถานการณ์จำลองว่าไม่ทำอะไร ปล่อยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกเป็นไปตามปกติ ในภาพนี้ จะเห็นการเพิ่มอุณหภูมิจะอยู่ที่ 3.0 องศาเซลเซียส


บันทึกกระจายเบาบางเหล่านี้แสดงให้เห็นการถดถอยภูเขาน้ำแข็ง ที่กำลังเป็นมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2450 ประมาณปี พ.ศ. 2495 – 2502 การวัดที่ได้เริ่มขึ้นในช่วงช่วยให้สามารถเฝ้ามองความสมดุลก้อนภูเขาน้ำแข็งได้ รายงานถึง WGMS และ NSIDC
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาปรากฏการณ์โลกร้อนด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับภูมิอากาศ แบบจำลองนี้ใช้หลักการพื้นฐานของพลศาสตร์ของไหล การถ่ายโอนการแผ่รังสี (radiative transfer) และกระบวนการอื่นๆ โดยต้องทำให้ง่ายขึ้นเนื่องจากขีดจำกัดของกำลังของคอมพิวเตอร์และความซับซ้อนของระบบภูมิอากาศ แบบจำลองนี้พยากรณ์ได้ว่าผลของการเพิ่มแก๊สเรือนกระจกเพิ่มความร้อนแก่ภูมิอากาศจริงแต่อย่างไรก็ดี เมื่อใช้สมมุติฐานเดียวกันนี้กับอัตราแก๊สเรือนกระจกในอนาคต ก็ยังปรากฏให้เห็นถึงอัตราความไวของภูมิอากาศ (climate sensitivity) ที่มีช่วงกว้างมากอยู่
เมื่อรวมความไม่แน่นอนของการเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในอนาคตเข้ากับแบบจำลองภูมิอากาศแล้ว IPCC คาดว่าเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ( พ.ศ. 2543) อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มระหว่าง 1.1 องศาเซลเซียส ถึง 6.4 องศาเซลเซียส เทียบได้กับการเพิ่มระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2442ได้มีการใช้แบบจำลองมาช่วยในการสืบค้นหา “สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเมื่อเร็วๆ นี้” โดยการเปรียบเทียบผลการคาดคะเนที่ได้จากแบบจำลองกับผลการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติและที่เปลี่ยนเนื่องมาจากกิจกรรมมนุษย์
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิอากาศก่อนยุคมนุษย์

เส้นโค้งของอุณหภูมิที่สร้างขึ้นใหม่ ณ ที่สองจุดในแอนตาร์กติกและบันทึกการผันแปรของโลกในก้อนภูเขาน้ำแข็ง วันที่ของเวลาปัจจุบันปรากฏที่ด้านล่างซ้ายของกราฟ
โลกได้ประสบกับการร้อนและเย็นมาแล้วหลายครั้งในอดีต แท่งแกนน้ำแข็งแอนตาร์กติกเมื่อเร็วๆนี้ของ EPICA ครอบคลุมช่วงเวลาไว้ 800,000 ปี รวมวัฏจักรยุคน้ำแข็งได้ 8 ครั้ง ซึ่งนับเวลาโดยการใช้ตัวแปรวงโคจรของโลกและช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งมาเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในปัจจุบัน
การเพิ่มอย่างรวดเร็วของแก๊สเรือนกระจกเพิ่มการร้อนขึ้นในยุคจูราสสิกตอนต้น (ประมาณ 180 ล้านปีก่อน) โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 5 องศาเซลเซียส งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเปิดบ่งชี้ว่าการร้อนขึ้นเกิดทำให้อัตราการกร่อนของหินเพิ่มมากถึง 400% การกร่อนของหินในลักษณะนี้ทำให้เกิดการกักคาร์บอนไว้ในคาลไซท์และโดโลไมท์ไว้ได้มาก ระดับของ CO2 ได้ตกลงสู่ระดับปกติมาได้อีกประมาณ 150,000 ปี
การปลดปล่อยมีเทนโดยกระทันหันจากสารประกอบคลาเทรท (clathrate gun hypothesis) ได้กลายเป็นสมมุติฐานว่าเป็นทั้งต้นเหตุและผลของการเพิ่มอุณหภูมิโลกในระยะเวลาที่นานมากมาแล้ว รวมทั้ง “เหตุการณ์สูญพันธุ์เพอเมียน-ไทรอาสสิก” (Permian-Triassic extinction event –ประมาณ 251 ล้านปีมาแล้ว) รวมทั้งการร้อนมากสุดพาเลโอซีน-อีโอซีน (Paleocene-Eocene Thermal Maximum –ประมาณ 55 ล้านปีมาแล้ว)
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุณหภูมิกับภาวะโลกร้อน 2

การปลดปล่อยมลพิษจากการกระทำของของมนุษย์ที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งได้แก่ “ละอองลอย" ซัลเฟต ซึ่งสามารถเพิ่มผลการลดอุณหภูมิโดยการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปจากโลก สังเกตได้จากการบันทึกอุณหภูมิที่เย็นลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) แม้การเย็นลงนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการผันแปรของธรรมชาติ เจมส์ เฮนสันและคณะได้เสนอว่าผลของการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์คือ CO2 และละอองลอยจะหักล้างกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การร้อนขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกิดจากแก๊สเรือนกระจกที่ไม่ใช่ CO2
นักอุตุนิยมดึกดำบรรพ์วิทยา (Paleoclimatologist) วิลเลียม รัดดิแมนได้โต้แย้งว่าอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อภูมิอากาศโลกเริ่มมาตั้งแต่ประมาณ 8,000 ปีก่อน เริ่มด้วยการเปิดป่าเพื่อทำกินทางเกษตร และเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ด้วยการทำการชลประทานเพื่อปลูกข้าวในเอเซีย การแปลความหมายของรูดิแมนจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ขัดแย้งกับข้อมูลแก๊สมีเทน
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุณหภูมิกับภาวะโลกร้อน

ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวโลกในช่วง 2000 ปี ตามการสร้างขึ้นใหม่แบบต่างๆ แต่ละแบบทำให้เรียบขึ้นตามมาตราส่วนทศวรรษ ตัวที่ไม่เรียบของค่ารายปีสำหรับปี พ.ศ. 2547 ใช้วิธีพล็อตที่ต่างกัน
เมื่อเร็วๆ นี้
อุณหภูมิของโลกทั้งบนแผ่นดินและในมหาสมุทรได้เพิ่มขึ้น 0.75 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงปี พ.ศ. 2403 – 2443 ตาม “การบันทึกอุณหภูมิด้วยเครื่องมือ” (instrumental temperature record) การวัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่มีผลมากนักต่อ “ปรากฏการณ์เกาะความร้อน” นับแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา อุณหภูมิผิวดินได้เพิ่มเร็วขึ้นประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับการเพิ่มอุณหภูมิของผิวทะเล (0.25 องศาเซลเซียส ต่อทศวรรษ กับ 0.13 องศาเซลเซียส ต่อทศวรรษ) อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ตอนล่างได้เพิ่มขึ้นระหว่าง 0.12 และ 0.22 องศาเซลเซียส ต่อทศวรรษมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เช่นกันจากการวัดอุณหภูมิโดยดาวเทียม เชื่อกันว่าอุณหภูมิของโลกค่อนข้างเสถียรมากกว่ามาตั้งแต่ 1 – 2,000 ปีก่อนถึงปี พ.ศ. 2422 โดยอาจมีการขึ้นๆ ลงๆ ตามภูมิภาคบ้าง เช่นในช่วง การร้อนของยุคกลาง (Medieval Warm Period) และ ในยุคน้ำแข็งน้อย (Little Ice Age)
อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่าบนแผ่นดินเนื่องจากความจุความร้อนของน้ำที่มากกว่าและจากการสูญเสียความร้อนที่ผิวน้ำจากการระเหยที่เร็วกว่าบนผิวแผ่นดิน เนื่องจากซีกโลกเหนือมีมวลแผ่นดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซีกโลกเหนือจึงร้อนเร็วกว่า และยังมีพื้นที่ที่กว้างขวางที่ปกคลุมโดยหิมะตามฤดูกาลที่มีอัตราการสะท้อนรังสีที่ป้อนกลับได้มากกว่า แม้แก๊สเรือนกระจกจะถูกปลดปล่อยในซีกโลกเหนือมากกว่าซีกโลกใต้ แต่ก็ไม่มีผลต่อความไม่ได้ดุลของการร้อนขึ้น เนื่องจากแก๊สกระจายรวมกันได้รวดเร็วในบรรยากาศระหว่างสองซีกโลก
โดยอาศัยการประมาณจากข้อมูลของ “สถาบันกอดดาร์ดเพื่อการศึกษาห้วงอวกาศ" (Goddard Institute for Space Studies) ของนาซา โดยการใช้เครื่องมือวัดแบบต่างๆ ที่เชื่อถือได้และมีใช้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2400 พบว่าปี พ.ศ. 2548 เป็นปีที่ร้อนที่สุด ร้อนกว่าสถิติร้อนสุดที่บันทึกได้เมื่อ พ.ศ. 2541 เล็กน้อย แต่การประมาณที่ทำโดยองค์การอุตุนิยมโลก (World Meteorological Organization) และหน่วยวิจัยภูมิอากาศสรุปว่า พ.ศ. 2548 ร้อนรองลงมาจาก พ.ศ. 2541
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดวงอาทิตย์กับ ภาวะโลกร้อน 2

ผลกระทบประการหนึ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มแรงกระทำจากดวงอาทิตย์ คือการที่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์อุ่นขึ้น ในขณะที่ตามทฤษฏีของแก๊สเรือนกระจกแล้วชั้นบรรยากาศนี้ควรจะเย็นลง ผลสังเกตการณ์ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2505 พบว่ามีการเย็นตัวลงของชั้นสตราโตสเฟียร์ช่วงล่าง การลดลงของปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์มีอิทธิพลต่อการเย็นลงของบรรยากาศมานานแล้ว แต่การลดที่เกิดขึ้นมากโดยชัดเจนปรากฏให้เห็นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2515 เป็นต้นมาความผันแปรของดวงอาทิตย์ร่วมกับการระเบิดของภูเขาไฟ อาจมีผลให้เกิดการเพิ่มอุณหภูมิมาตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาถึงประมาณ พ.ศ. 2490 แต่ให้ผลทางการลดอุณหภูมิตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2549 ปีเตอร์ ฟูกัล และนักวิจัยอื่นๆ จากสหรัฐฯ เยอรมันและสวิตเซอร์แลนด์พบว่า ดวงอาทิตย์ไม่ได้ส่องสว่างมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในรอบหนึ่งพันปีที่ผ่านมา วัฏจักรของดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างมากขึ้นทำให้โลกอุ่นขึ้นเพียง 0.07% ใน 30 ปีที่ผ่านมา ผลกระทบนี้จึงมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนน้อยมากๆ รายงานวิจัยของ ไมค์ ลอควูด และเคลาส์ ฟลอห์ลิช พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์โลกร้อนกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ไม่ว่าจากความผันแปรจากดวงอาทิตย์หรือจากรังสีคอสมิก เฮนริก สเวนมาร์ก และไอกิล ฟริอิส-คริสเตนเซน ผู้สนับสนุนสมมุติฐาน “การถูกเติมสารเคมีลงในกลุ่มเมฆจากรังสีคอสมิกในดาราจักร” ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของลอควูด และ ฟลอห์ลิช
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดวงอาทิตย์กับ ภาวะโลกร้อน

ความผันแปรของดวงอาทิตย์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา
มีรายงานวิจัยหลายชิ้นแนะว่าอาจมีการให้ความสำคัญกับดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อปรากฏการณ์โลกร้อนต่ำไป นักวิจัย 2 คนจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก คือ บรูซ เวสต์ และ นิโคลา สกาเฟทตา ได้ประมาณว่าดวงอาทิตย์อาจส่งผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกมากถึง 45–50% ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2443–2543 และประมาณ 25–35% ระหว่าง พ.ศ. 2523–2543 รายงานวิจัยของปีเตอร์ สกอต และนักวิจัยอื่นแนะว่าแบบจำลองภูมิอากาศประมาณการเกินจริงเกี่ยวกับผลสัมพัทธ์ของแก๊สเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับแรงจากดวงอาทิตย์ และยังแนะเพิ่มว่าผลกระทบความเย็นของฝุ่นละอองภูเขาไฟและซัลเฟตในบรรยากาศได้รับการประเมินต่ำไปเช่นกัน ถึงกระนั้น กลุ่มนักวิจัยดังกล่าวก็ยังสรุปว่า แม้จะรวมเอาปัจจัยความไวต่อภูมิอากาศของดวงอาทิตย์มารวมด้วยก็ตาม ความร้อนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ยังนับว่าเป็นผลจากการเพิ่มปริมาณของแก๊สเรือนกระจกเสียมากกว่า
สมมุติฐานที่แตกต่างไปอีกประการหนึ่งกล่าวว่า การผันแปรของอัตราการปล่อยความร้อนออกของดวงอาทิตย์ (solar output) สู่โลก ซึ่งเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในการเติมสารเคมีในกลุ่มเมฆจาก รังสีคอสมิกในดาราจักร (galactic cosmic rays) อาจเป็นตัวการทำให้เกิดความร้อนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นไปสมมุติฐานนี้เสนอว่า แรงกระทำจากสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดในการหันเหรังสีคอสมิกที่ส่งผลต่อการก่อตัวของนิวเคลียสในเมฆ และทำให้มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศด้วย
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การป้อนกลับ ( ภาวะโลกร้อน )

ผลกระทบจากตัวกระทำที่สร้างแรงในบรรยากาศมีความซับซ้อนตามกระบวนการป้อนกลับหลายแบบ
หนึ่งในผลการป้อนกลับที่เด่นชัดหลายแบบดังกล่าวสัมพันธ์กับการระเหยของน้ำ กรณีความร้อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกที่มีอายุยืนยาว เช่น CO2 ทำให้น้ำระเหยปะปนในบรรยากาศมากขึ้น และเมื่อไอน้ำเองก็เป็นแก๊สเรือนกระจกชนิดหนึ่งด้วย จึงทำให้บรรยากาศมีความร้อนเพิ่มขึ้นไปอีกซึ่งเป็นการป้อนกลับไปทำให้น้ำระเหยเพิ่มขึ้นอีก เป็นรอบๆ เรื่อยไปดังนี้จนกระทั่งระดับไอน้ำบรรลุความเข้มถึงจุดสมดุลขั้นใหม่ซึ่งมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าลำพัง CO2 เพียงอย่างเดียว แม้กระบวนการป้อนกลับนี้จะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณความชื้นสัมบูรณ์ในบรรยากาศ แต่ความชื้นสัมพัทธ์จะยังคงอยู่ในระดับเกือบคงที่และอาจลดลงเล็กน้อยเมื่ออากาศอุ่นขึ้น ผลการป้อนกลับนี้จะเปลี่ยนกลับคืนได้แต่เพียงช้าๆ เนื่องจาก CO2 มีอายุขัยในบรรยากาศ (atmospheric lifetime) ยาวนานมาก
การป้อนกลับเนื่องจากเมฆกำลังอยู่ในระยะดำเนินการวิจัย มองจากทางด้านล่างจะเห็นเมฆกระจายรังสีอินฟราเรดลงสู่พื้นล่าง ซึ่งมีผลเป็นการเพิ่มอุณหภูมิผิวล่าง ในขณะเดียวกัน หากมองทางด้านบน เมฆจะสะท้อนแสงอาทิตย์และกระจายรังสีอินฟราเรดสู่ห้วงอวกาศจึงมีผลเป็นการลดอุณหภูมิ ผลลัพธ์ของผลต่างของปรากฏการณ์นี้จะมากน้อยต่างกันอย่างไรขึ้นอยู่กับรายละเอียด เช่น ประเภทและความสูงของเมฆ รายละเอียดเหล่านี้มีความยากมากในการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศเนื่องจากก้อนเมฆมีขนาดเล็ก กระจัดกระจายและมีช่องว่างมากระหว่างก้อนมาก อย่างไรก็ดี การป้อนกลับของเมฆมีผลน้อยกว่าการป้อนกลับของไอน้ำในบรรยากาศ และมีผลชัดเจนในแบบจำลองทุกแบบที่นำมาใช้ในรายงานผลการประเมิน IPCC ครั้งที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report (32)
กระบวนการป้อนกลับที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือการป้อนกลับของอัตราส่วนรังสีสะท้อนจากน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่ม น้ำแข็งแถบขั้วโลกจะมีอัตราการละลายเพิ่ม ในขณะที่น้ำแข็งละลายผิวดินและผิวน้ำจะถูกเปิดให้เห็น ทั้งผิวดินและผิวน้ำมีอัตราส่วนการสะท้อนรังสีน้อยกว่าน้ำแข็งจึงดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ไว้ได้มากกว่า จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นป้อนกลับให้น้ำแข็งละลายมากขึ้นและวงจรนี้เกิดต่อเนื่องไปอีกเรื่อยๆ
การป้อนกลับที่ชัดเจนอีกชนิดหนึ่งได้แก่การปลดปล่อย CO2 และ CH4 จากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) เช่นพรุพีท เยือกแข็ง (frozen peat bogs) ในไซบีเรียที่เป็นกลไกที่เพิ่มการอุ่นขึ้นของบรรยากาศ การปลดปล่อยอย่างมหาศาลของแก๊สมีเทนจาก “มีเทนก้อน” สามารถทำให้อัตราการอุ่นเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม “สมมุติฐานปืนคลาทเรท” (clathrate gun hypothesis)
ขีดความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนลดต่ำลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการลดลงของธาตุอาหารในชั้นเมโสเพลาจิก (mesopelagic zone) ประมาณความลึกที่ 100 ถึง 200 เมตร ที่ทำให้การเจริญเติบโตของไดอะตอมลดลงเนื่องจากการเข้าแทนที่ของไฟโตแพลงตอนที่เล็กกว่าและเก็บกักคาร์บอนในเชิงชีววิทยาได้น้อยกว่า ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แก๊สเรือนกระจก-ภาวะโลกร้อน2

ความเข้มของปริมาณ CO2 ที่เจือปนในบรรยากาศปัจจุบันมีประมาณ 383 ส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppm) ประมาณว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะสูงขึ้นอีกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อัตราการเพิ่มขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการพัฒนาของตัวธรรมชาติเอง แต่อาจขึ้นอยู่กับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก รายงานพิเศษว่าด้วยการจำลองการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Special Report on Emissions Scenarios) ของ IPCC ได้จำลองว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะมีค่าอยู่ระหว่าง 541 ถึง 970 ส่วนในล้านส่วน ในราวปี พ.ศ. 2643 ด้วยปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังคงมีเพียงพอในการสร้างสภาวะนั้น และยังสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้อีกเมื่อเลยปี 2643 ไปแล้ว ถ้าเรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมันดิน น้ำมันดินในทราย หรือมีเทนก้อน (methane clathratesmethane clathrates เป็นแก๊สมีเทนที่ฝังตัวในผลึกน้ำแข็งในสัดส่วนโมเลกุลมีเทน:โมเลกุลน้ำ = 1 : 5.75 เกิดใต้ท้องมหาสมุทรที่ลึกมาก) ต่อไป
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แก๊สเรือนกระจก- ภาวะโลกร้อน

ปรากฏการณ์เรือนกระจก ค้นพบโดยโจเซฟ ฟูเรียร์ เมื่อ พ.ศ. 2367 และได้รับการตรวจสอบเชิงปริมาณโดยสวานเต อาร์รีเนียส ในปี พ.ศ. 2439 กระบวนการเกิดขึ้นโดยการดูดซับและการปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดโดยแก๊สเรือนกระจกเป็นตัวทำให้บรรยากาศและผิวโลกร้อนขึ้น
การเกิดผลกระทบของปรากฏการณ์เรือนกระจกดังกล่าวไม่เป็นที่ถกเถียงกันแต่อย่างใด เพราะโดยธรรมชาติแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นนั้นจะมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิอยู่ที่ 33 องศาเซลเซียส อยู่แล้ว ซึ่งถ้าไม่มี มนุษย์ก็จะอยู่อาศัยไม่ได้ ประเด็นปัญหาจึงอยู่ที่ว่าความแรงของปรากฏการณ์เรือนกระจกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมของมนุษย์ไปเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ
แก๊สเรือนกระจกหลักบนโลกคือ ไอระเหยของน้ำ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนมากถึงประมาณ 30-60% (ไม่รวมก้อนเมฆ) คาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการอีกประมาณ 9–26% แก๊สมีเทน (CH4) เป็นตัวการ 4–9% และโอโซนอีก 3–7% ซึ่งหากนับโมเลกุลต่อโมเลกุล แก๊สมีเทนมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ดังนั้นแรงการแผ่ความร้อนจึงมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของคาร์บอนไดออกไซด์ และยังมีแก๊สอื่นอีกที่เกิดตามธรรมชาติแต่มีปริมาณน้อยมาก หนึ่งในนั้นคือ ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมของมนุษย์ เช่นเกษตรกรรม ความเข้มในบรรยากาศของ CO2 และ CH4 เพิ่มขึ้น 31% และ 149 % ตามลำดับนับจากการเริ่มต้นของยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงประมาณ พ.ศ. 2290 (ประมาณปลายรัชสมัยพระบรมโกศฯ) เป็นต้นมา ระดับอุณหภูมิเหล่านี้สูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วง 650,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่ได้มาจากแกนน้ำแข็งที่เจาะมาได้ และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาด้านอื่นก็ทำให้เชื่อว่าค่าของ CO2 ที่สูงในระดับใกล้เคียงกันดังกล่าวเป็นมาประมาณ 20 ล้านปีแล้ว การเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) มีส่วนเพิ่ม CO2 ในบรรยากาศประมาณ 3 ใน 4 ของปริมาณ CO2 ทั้งหมดจากกิจกรรมมนุษย์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะการทำลายป่าเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาเหตุภาวะโลกร้อน 2

สภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระทำจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการผันแปรของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (แรงกระทำจากวงโคจร) การระเบิดของภูเขาไฟ และการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุของความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกยังคงเป็นประเด็นการวิจัยที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี มีความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) บ่งชี้ว่า ระดับการเพิ่มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดนับแต่เริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมเป็นต้นมา สาเหตุข้อนี้มีความชัดเจนมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีข้อมูลมากพอสำหรับการพิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอื่นในมุมมองที่ไม่ตรงกันกับความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น ซึ่งนำไปใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่อุณหภูมิมีค่าสูงขึ้น สมมุติฐานหนึ่งในนั้นเสนอว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการผันแปรภายในของดวงอาทิตย์
ผลกระทบจากแรงดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในฉับพลันทันใด เนื่องจาก “แรงเฉื่อยของความร้อน” (thermal inertia) ของมหาสมุทรและการตอบสนองอันเชื่องช้าต่อผลกระทบทางอ้อมทำให้สภาวะภูมิอากาศของโลก ณ ปัจจุบันยังไม่อยู่ในสภาวะสมดุลจากแรงที่กระทำ การศึกษาเพื่อหา “ข้อผูกมัดของภูมิอากาศ” (Climate commitment) บ่งชี้ว่า แม้แก๊สเรือนกระจกจะอยู่ในสภาวะเสถียรในปี พ.ศ. 2543 ก็ยังคงมีความร้อนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสอยู่ดี
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาเหตุภาวะโลกร้อน 1

คาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเมื่อ 400,000 ปีก่อน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมาได้เปลี่ยนวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “วัฏจักรมิลานโควิทช์” นั้น เชื่อกันว่าเป็นตัวกำหนดวงรอบ 100,000 ปีของวัฏจักรยุคน้ำแข็ง


การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเมื่อเร็วๆ นี้ การวัดคาร์บอนไดออกไซด์รายเดือนแสดงให้เห็นความผันผวนเล็กน้อยตามฤดูกาลระหว่างปีที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวนการเพิ่มขึ้นสูงสุดของแต่ละปีเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือและลดลงในช่วงการเพาะปลูกซึ่งพืชที่เพาะปลูกดึงคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนออกจากบรรยากาศ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาเหตุภาวะโลกร้อน 1

คาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงเมื่อ 400,000 ปีก่อน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมาได้เปลี่ยนวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “วัฏจักรมิลานโควิทช์” นั้น เชื่อกันว่าเป็นตัวกำหนดวงรอบ 100,000 ปีของวัฏจักรยุคน้ำแข็ง


การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเมื่อเร็วๆ นี้ การวัดคาร์บอนไดออกไซด์รายเดือนแสดงให้เห็นความผันผวนเล็กน้อยตามฤดูกาลระหว่างปีที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวนการเพิ่มขึ้นสูงสุดของแต่ละปีเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือและลดลงในช่วงการเพาะปลูกซึ่งพืชที่เพาะปลูกดึงคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนออกจากบรรยากาศ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายภาวะโลกร้อน

คำว่า “ปรากฏการณ์โลกร้อน” เป็นคำจำเพาะคำหนึ่งของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยที่ "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก รวมทั้งเหตุการณ์ปรากฏการณ์โลกเย็นด้วย โดยทั่วไป คำว่า "ปรากฏการณ์โลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และใช้คำว่า "การผันแปรของภูมิอากาศ" (Climate Variability) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอื่น ส่วนคำว่า “ปรากฏการณ์โลกร้อนจากกิจกรรมมนุษย์” (anthropogenic global warming) มีที่ใช้ในบางคราวเพื่อเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอันเนื่องมาจากมนุษย์
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การคาดคะเนภูมิ

การคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2543–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก
การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Related climatic issues

A variety of issues are often raised in relation to global warming. One is ocean acidification. Increased atmospheric CO2 increases the amount of CO2 dissolved in the oceans. CO2 dissolved in the ocean reacts with water to form carbonic acid, resulting in acidification. Ocean surface pH is estimated to have decreased from 8.25 near the beginning of the industrial era to 8.14 by 2004, and is projected to decrease by a further 0.14 to 0.5 units by 2100 as the ocean absorbs more CO2. Since organisms and ecosystems are adapted to a narrow range of pH, this raises extinction concerns, directly driven by increased atmospheric CO2, that could disrupt food webs and impact human societies that depend on marine ecosystem services.
Global dimming, the gradual reduction in the amount of global direct irradiance at the Earth's surface, may have partially mitigated global warming in the late twentieth century. From 1960 to 1990 human-caused aerosols likely precipitated this effect. Scientists have stated with 66–90% confidence that the effects of human-caused aerosols, along with volcanic activity, have offset some of the global warming, and that greenhouse gases would have resulted in more warming than observed if not for these dimming agents.
Ozone depletion, the steady decline in the total amount of ozone in Earth's stratosphere, is frequently cited in relation to global warming. Although there are areas of linkage, the relationship between the two is not strong.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Social 2

Another point of debate is the degree to which newly developed economies such as India and China should be expected to constrain their emissions. China's gross national CO2 emissions are expected to exceed those of the U.S. within the next few years, and may have already done so according to a 2006 report. China has contended that it has less of an obligation to reduce emissions since its per capita emissions are roughly one-fifth that of the United States. India, also exempt from Kyoto restrictions and another of the biggest sources of industrial emissions, has made similar assertions. However, the U.S. contends that if they must bear the cost of reducing emissions, then China should do the same.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Social 1

Per country greenhouse gas emissions in 2000, including land-use change.
Over the past several years, increased awareness of the scientific findings surrounding global warming has resulted in political and economic debate. Poor regions, particularly Africa, appear at greatest risk from the suggested effects of global warming, while their actual emissions have been small compared to the developed world. At the same time, developing country exemptions from provisions of the Kyoto Protocol have been criticized by the United States and Australia, and have been used as part of the rationale for continued non-ratification by the U.S. In the Western world, the idea of human influence on climate has gained wider acceptance in Europe than in the United States.
The issue of climate change has sparked debate weighing the benefits of limiting industrial emissions of greenhouse gases against the costs that such changes would entail. There has been discussion in several countries about the cost and benefits of adopting alternative energy sources in order to reduce carbon emissions. Organizations and companies such as the Competitive Enterprise Institute and ExxonMobil have emphasized more conservative climate change scenarios while highlighting the potential economic cost of stricter controls. Likewise, various environmental lobbies and a number of public figures have launched campaigns to emphasize the potential risks of climate change and promote the implementation of stricter controls. Some fossil fuel companies have scaled back their efforts in recent years, or called for policies to reduce global warming.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Adaptation 3

The IPCC's Working Group III is responsible for crafting reports that deal with the mitigation of global warming and analyzing the costs and benefits of different approaches. In the 2007 IPCC Fourth Assessment Report, they conclude that no one technology or sector can be completely responsible for mitigating future warming. They find there are key practices and technologies in various sectors, such as energy supply, transportation, industry, and agriculture, that should be implemented to reduced global emissions. They estimate that stabilization of carbon dioxide equivalent between 445 and 710 ppm by 2030 will result in between a 0.6% increase and 3% decrease in global gross domestic product.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Adaptation 2

The world's primary international agreement on combating global warming is the Kyoto Protocol, an amendment to the UNFCCC negotiated in 1997. The Protocol now covers more than 160 countries globally and over 55% of global greenhouse gas emissions. Only the United States and Kazakhstan have not ratified the treaty, with the United States historically being the world's largest emitter of greenhouse gas. This treaty expires in 2012, and international talks began in May 2007 on a future treaty to succeed the current one.
Claiming "serious harm" to the United States economy and the exemption of "80 percent of the world, including major population centers" like China and India from the treaty, George W. Bush contends that the Kyoto Protocol is an unfair and ineffective means of addressing global climate change concerns. Bush has promoted improved energy technology as a means to combat climate change, and various state and city governments within the United States have begun their own initiatives to indicate support and compliance with the Kyoto Protocol on a local basis; an example of this being the Regional Greenhouse Gas Initiative.
China and India, though exempt from its provisions as developing countries, have ratified the Kyoto Protocol. China may have passed the U.S. in total annual greenhouse gas emissions according to some recent studies. Chinese Premier Wen Jiabao has called on the nation to redouble its efforts to tackle pollution and global warming.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Adaptation 1

The broad agreement among climate scientists that global temperatures will continue to increase has led some nations, states, corporations and individuals to implement actions to try to curtail global warming or adjust to it. Many environmental groups encourage individual action against global warming, often by the consumer, but also by community and regional organizations. Others have suggested a quota on worldwide fossil fuel production, citing a direct link between fossil fuel production and CO2 emissions.
There has also been business action on climate change, including efforts at increased energy efficiency and limited moves towards use of alternative fuels. One important innovation has been the development of greenhouse gas emissions trading through which companies, in conjunction with government, agree to cap their emissions or to purchase credits from those below their allowances.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Security

In November 2007, the Center for Strategic and International Studies and the Center for a New American Security published a report highlighting the national security effects of climate change. These security effects include increased competition for resources between countries, mass migration from the worst affected areas, challenges to the cohesion of major states threatened by the rise in sea levels, and, as a consequence of these factors, an increased risk of armed conflict, including even nuclear conflicts.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Economic

Some economists have tried to estimate the aggregate net economic costs of damages from climate change across the globe. Such estimates have so far failed to reach conclusive findings; in a survey of 100 estimates, the values ran from US$-10 per tonne of carbon (tC) (US$-3 per tonne of carbon dioxide) up to US$350/tC (US$95 per tonne of carbon dioxide), with a mean of US$43 per tonne of carbon (US$12 per tonne of carbon dioxide). One widely publicized report on potential economic impact is the Stern Review; it suggests that extreme weather might reduce global gross domestic product by up to 1%, and that in a worst-case scenario global per capita consumption could fall 20%. The report's methodology, advocacy and conclusions have been criticized by many economists, primarily around the Review's assumptions of discounting and its choices of scenarios, while others have supported the general attempt to quantify economic risk, even if not the specific numbers.
In a summary of economic cost associated with climate change, the United Nations Environment Programme (UNEP) emphasizes the risks to insurers, reinsurers, and banks of increasingly traumatic and costly weather events. Other economic sectors likely to face difficulties related to climate change include agriculture and transport. Developing countries dependent upon agriculture will be particularly harmed by global warming.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Attributed 2

Increasing deaths, displacements, and economic losses projected due to extreme weather attributed to global warming may be exacerbated by growing population densities in affected areas, although temperate regions are projected to experience some benefits, such as fewer deaths due to cold exposure. A summary of probable effects and recent understanding can be found in the report made for the IPCC Third Assessment Report by Working Group II. The newer IPCC Fourth Assessment Report summary reports that there is observational evidence for an increase in intense tropical cyclone activity in the North Atlantic Ocean since about 1970, in correlation with the increase in sea surface temperature, but that the detection of long-term trends is complicated by the quality of records prior to routine satellite observations. The summary also states that there is no clear trend in the annual worldwide number of tropical cyclones.
Additional anticipated effects include sea level rise of 110 to 770 millimeters (0.36 to 2.5 ft) between 1990 and 2100, repercussions to agriculture, possible slowing of the thermohaline circulation, reductions in the ozone layer, increased intensity of hurricanes and extreme weather events, lowering of ocean pH, and the spread of diseases such as malaria and dengue fever. One study predicts 18% to 35% of a sample of 1,103 animal and plant species would be extinct by 2050, based on future climate projections. However, few mechanistic studies have documented extinctions due to recent climate change and one study suggests that projected rates of extinction are uncertain.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Attributed

Sparse records indicate that glaciers have been retreating since the early 1800s. In the 1950s measurements began that allow the monitoring of glacial mass balance, reported to the WGMS and the NSIDC.
Main article: Effects of global warming
Although it is difficult to connect specific weather events to global warming, an increase in global temperatures may in turn cause broader changes, including glacial retreat, Arctic shrinkage, and worldwide sea level rise. Changes in the amount and pattern of precipitation may result in flooding and drought. There may also be changes in the frequency and intensity of extreme weather events. Other effects may include changes in agricultural yields, addition of new trade routes, reduced summer streamflows, species extinctions, and increases in the range of disease vectors.
Some effects on both the natural environment and human life are, at least in part, already being attributed to global warming. A 2001 report by the IPCC suggests that glacier retreat, ice shelf disruption such as that of the Larsen Ice Shelf, sea level rise, changes in rainfall patterns, and increased intensity and frequency of extreme weather events, are being attributed in part to global warming. While changes are expected for overall patterns, intensity, and frequencies, it is difficult to attribute specific events to global warming. Other expected effects include water scarcity in some regions and increased precipitation in others, changes in mountain snowpack, and adverse health effects from warmer temperatures.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Climate models2

Including uncertainties in future greenhouse gas concentrations and climate modeling, the IPCC anticipates a warming of 1.1 °C to 6.4 °C (2.0 °F to 11.5 °F) by the end of the 21st century, relative to 1980–1999. Models have also been used to help investigate the causes of recent climate change by comparing the observed changes to those that the models project from various natural and human-derived causes.
Current climate models produce a good match to observations of global temperature changes over the last century, but do not simulate all aspects of climate. These models do not unambiguously attribute the warming that occurred from approximately 1910 to 1945 to either natural variation or human effects; however, they suggest that the warming since 1975 is dominated by man-made greenhouse gas emissions.
Global climate model projections of future climate are forced by imposed greenhouse gas emission scenarios, most often from the IPCC Special Report on Emissions Scenarios (SRES). Less commonly, models may also include a simulation of the carbon cycle; this generally shows a positive feedback, though this response is uncertain (under the A2 SRES scenario, responses vary between an extra 20 and 200 ppm of CO2). Some observational studies also show a positive feedback.
The representation of clouds is one of the main sources of uncertainty in present-generation models, though progress is being made on this problem. Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Climate models1

Calculations of global warming prepared in or before 2001 from a range of climate models under the SRES A2 emissions scenario, which assumes no action is taken to reduce emissions.


The geographic distribution of surface warming during the 21st century calculated by the HadCM3 climate model if a business as usual scenario is assumed for economic growth and greenhouse gas emissions. In this figure, the globally averaged warming corresponds to 3.0 °C (5.4 °F).
Main article: Global climate model
Scientists have studied global warming with computer models of the climate. These models are based on physical principles of fluid dynamics, radiative transfer, and other processes, with simplifications being necessary because of limitations in computer power and the complexity of the climate system. All modern climate models include an atmospheric model that is coupled to an ocean model and models for ice cover on land and sea. Some models also include treatments of chemical and biological processes. These models predict that the effect of adding greenhouse gases is to produce a warmer climate. However, even when the same assumptions of future greenhouse gas levels are used, there still remains a considerable range of climate sensitivity.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Pre-human

Earth has experienced warming and cooling many times in the past. The recent Antarctic EPICA ice core spans 800,000 years, including eight glacial cycles timed by orbital variations with interglacial warm periods comparable to present temperatures.
A rapid buildup of greenhouse gases amplified warming in the early Jurassic period (about 180 million years ago), with average temperatures rising by 5 °C (9 °F). Research by the Open University indicates that the warming caused the rate of rock weathering to increase by 400%. As such weathering locks away carbon in calcite and dolomite, CO2 levels dropped back to normal over roughly the next 150,000 years.
Sudden releases of methane from clathrate compounds (the clathrate gun hypothesis) have been hypothesized as both a cause for and an effect of other warming events in the distant past, including the Permian–Triassic extinction event (about 251 million years ago) and the Paleocene–Eocene Thermal Maximum (about 55 million years ago).
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Global warming and Recent 3

Anthropogenic emissions of other pollutants—notably sulfate aerosols—can exert a cooling effect by increasing the reflection of incoming sunlight. This partially accounts for the cooling seen in the temperature record in the middle of the twentieth century, though the cooling may also be due in part to natural variability. James Hansen and colleagues have proposed that the effects of the products of fossil fuel combustion—CO2 and aerosols—have largely offset one another, so that warming in recent decades has been driven mainly by non-CO2 greenhouse gases.
Paleoclimatologist William Ruddiman has argued that human influence on the global climate began around 8,000 years ago with the start of forest clearing to provide land for agriculture and 5,000 years ago with the start of Asian rice irrigation. Ruddiman's interpretation of the historical record, with respect to the methane data, has been disputed.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Global warming and Recent 2

Sea temperatures increase more slowly than those on land both because of the larger effective heat capacity of the oceans and because the ocean can lose heat by evaporation more readily than the land. The Northern Hemisphere has more land than the Southern Hemisphere, so it warms faster. The Northern Hemisphere also has extensive areas of seasonal snow and sea-ice cover subject to the ice-albedo feedback. More greenhouse gases are emitted in the Northern than Southern Hemisphere, but this does not contribute to the difference in warming because the major greenhouse gases persist long enough to mix between hemispheres.
Based on estimates by NASA's Goddard Institute for Space Studies, 2005 was the warmest year since reliable, widespread instrumental measurements became available in the late 1800s, exceeding the previous record set in 1998 by a few hundredths of a degree. Estimates prepared by the World Meteorological Organization and the Climatic Research Unit concluded that 2005 was the second warmest year, behind 1998. Temperatures in 1998 were unusually warm because the strongest El Niño in the past century occurred during that year.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Global warming and Recent

Global temperatures on both land and sea have increased by 0.75 °C (1.35 °F) relative to the period 1860–1900, according to the instrumental temperature record. This measured temperature increase is not significantly affected by the urban heat island effect. Since 1979, land temperatures have increased about twice as fast as ocean temperatures (0.25 °C per decade against 0.13 °C per decade). Temperatures in the lower troposphere have increased between 0.12 and 0.22 °C (0.22 and 0.4 °F) per decade since 1979, according to satellite temperature measurements. Temperature is believed to have been relatively stable over the one or two thousand years before 1850, with possibly regional fluctuations such as the Medieval Warm Period or the Little Ice Age.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Global warming and Solar variation 2

One predicted effect of an increase in solar activity would be a warming of most of the stratosphere, whereas greenhouse gas theory predicts cooling there. The observed trend since at least 1960 has been a cooling of the lower stratosphere[. Reduction of stratospheric ozone also has a cooling influence, but substantial ozone depletion did not occur until the late 1970s. Solar variation combined with changes in volcanic activity probably did have a warming effect from pre-industrial times to 1950, but a cooling effect since. In 2006, Peter Foukal and other researchers from the United States, Germany, and Switzerland found no net increase of solar brightness over the last thousand years. Solar cycles led to a small increase of 0.07% in brightness over the last thirty years. This effect is far too small to contribute significantly to global warming. A paper by Mike Lockwood and Claus Fröhlich found no relation between global warming and solar radiation since 1985, whether through variations in solar output or variations in cosmic rays. Henrik Svensmark and Eigil Friis-Christensen, the main proponents of cloud seeding by galactic cosmic rays, disputed this criticism of their hypothesis. Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Solar variation 1

A few papers suggest that the Sun's contribution may have been underestimated. Two researchers at Duke University, Bruce West and Nicola Scafetta, have estimated that the Sun may have contributed about 45–50% of the increase in the average global surface temperature over the period 1900–2000, and about 25–35% between 1980 and 2000. A paper by Peter Stott and other researchers suggests that climate models overestimate the relative effect of greenhouse gases compared to solar forcing; they also suggest that the cooling effects of volcanic dust and sulfate aerosols have been underestimated. They nevertheless conclude that even with an enhanced climate sensitivity to solar forcing, most of the warming since the mid-20th century is likely attributable to the increases in greenhouse gases.
A different hypothesis is that variations in solar output, possibly amplified by cloud seeding via galactic cosmic rays, may have contributed to recent warming.[ It suggests magnetic activity of the sun is a crucial factor which deflects cosmic rays that may influence the generation of cloud condensation nuclei and thereby affect the climate.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Feedbacks 2

A subtler feedback process relates to changes in the lapse rate as the atmosphere warms. The atmosphere's temperature decreases with height in the troposphere. Since emission of infrared radiation varies with the fourth power of temperature, longwave radiation emitted from the upper atmosphere is less than that emitted from the lower atmosphere. Most of the radiation emitted from the upper atmosphere escapes to space, while most of the radiation emitted from the lower atmosphere is re-absorbed by the surface or the atmosphere. Thus, the strength of the greenhouse effect depends on the atmosphere's rate of temperature decrease with height: if the rate of temperature decrease is greater the greenhouse effect will be stronger, and if the rate of temperature decrease is smaller then the greenhouse effect will be weaker. Both theory and climate models indicate that warming will reduce the decrease of temperature with height, producing a negative lapse rate feedback that weakens the greenhouse effect. Measurements of the rate of temperature change with height are very sensitive to small errors in observations, making it difficult to establish whether the models agree with observations.
Another important feedback process is ice-albedo feedback. When global temperatures increase, ice near the poles melts at an increasing rate. As the ice melts, land or open water takes its place. Both land and open water are on average less reflective than ice, and thus absorb more solar radiation. This causes more warming, which in turn causes more melting, and this cycle continues.
Positive feedback due to release of CO2 and CH4 from thawing permafrost, such as the frozen peat bogs in Siberia, is an additional mechanism that could contribute to warming. Similarly a massive release of CH4 from methane clathrates in the ocean could cause rapid warming, according to the clathrate gun hypothesis.
The ocean's ability to sequester carbon is expected to decline as it warms. This is because the resulting low nutrient levels of the mesopelagic zone (about 200 to 1000 m depth) limits the growth of diatoms in favor of smaller phytoplankton that are poorer biological pumps of carbon.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Feedbacks 1

The effects of forcing agents on the climate are complicated by various feedback processes.
One of the most pronounced feedback effects relates to the evaporation of water. Warming by the addition of long-lived greenhouse gases such as CO2 will cause more water to evaporate into the atmosphere. Since water vapor itself acts as a greenhouse gas, the atmosphere warms further; this warming causes more water vapor to evaporate (a positive feedback), and so on until other processes stop the feedback loop. The result is a much larger greenhouse effect than that due to CO2 alone. Although this feedback process causes an increase in the absolute moisture content of the air, the relative humidity stays nearly constant or even decreases slightly because the air is warmer. This feedback effect can only be reversed slowly as CO2 has a long average atmospheric lifetime.
Feedback effects due to clouds are an area of ongoing research. Seen from below, clouds emit infrared radiation back to the surface, and so exert a warming effect; seen from above, clouds reflect sunlight and emit infrared radiation to space, and so exert a cooling effect. Whether the net effect is warming or cooling depends on details such as the type and altitude of the cloud. These details are difficult to represent in climate models, in part because clouds are much smaller than the spacing between points on the computational grids of climate models. Nevertheless, cloud feedback is second only to water vapor feedback and is positive in all the models that were used in the IPCC Fourth Assessment Report.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Greenhouse 3

Recent increases in atmospheric carbon dioxide (CO2). The monthly CO2 measurements display small seasonal oscillations in an overall yearly uptrend; each year's maximum is reached during the Northern Hemisphere's late spring, and declines during the Northern Hemisphere growing season as plants remove some CO2 from the atmosphere.
The present atmospheric concentration of CO2 is about 385 parts per million (ppm) by volume. Future CO2 levels are expected to rise due to ongoing burning of fossil fuels and land-use change. The rate of rise will depend on uncertain economic, sociological, technological, and natural developments, but may be ultimately limited by the availability of fossil fuels. The IPCC Special Report on Emissions Scenarios gives a wide range of future CO2 scenarios, ranging from 541 to 970 ppm by the year 2100. Fossil fuel reserves are sufficient to reach this level and continue emissions past 2100, if coal, tar sands or methane clathrates are extensively used.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Greenhouse 2

Human activity since the industrial revolution has increased the concentration of various greenhouse gases, leading to increased radiative forcing from CO2, methane, tropospheric ozone, CFCs and nitrous oxide. Molecule for molecule, methane is a more effective greenhouse gas than carbon dioxide, but its concentration is much smaller so that its total radiative forcing is only about a fourth of that from carbon dioxide. Some other naturally occurring gases contribute very small fractions of the greenhouse effect; one of these, nitrous oxide (N2O), is increasing in concentration owing to human activity such as agriculture. The atmospheric concentrations of CO2 and CH4 have increased by 31% and 149% respectively since the beginning of the industrial revolution in the mid-1700s. These levels are considerably higher than at any time during the last 650,000 years, the period for which reliable data has been extracted from ice cores. From less direct geological evidence it is believed that CO2 values this high were last attained 20 million years ago. Fossil fuel burning has produced about three-quarters of the increase in CO2 from human activity over the past 20 years. Most of the rest is due to land-use change, in particular deforestation.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Greenhouse 1

The greenhouse effect was discovered by Joseph Fourier in 1824 and was first investigated quantitatively by Svante Arrhenius in 1896. It is the process by which absorption and emission of infrared radiation by atmospheric gases warm a planet's lower atmosphere and surface.
Existence of the greenhouse effect as such is not disputed. Naturally occurring greenhouse gases have a mean warming effect of about 33 °C (59 °F), without which Earth would be uninhabitable. On Earth, the major greenhouse gases are water vapor, which causes about 36–70% of the greenhouse effect (not including clouds); carbon dioxide (CO2), which causes 9–26%; methane (CH4), which causes 4–9%; and ozone, which causes 3–7%. The issue is how the strength of the greenhouse effect changes when human activity increases the atmospheric concentrations of some greenhouse gases.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Global warming Causes

The Earth's climate changes in response to external forcing, including variations in its orbit around the Sun (orbital forcing),[13][14][15] volcanic eruptions, and atmospheric greenhouse gas concentrations. The detailed causes of the recent warming remain an active field of research, but the scientific consensus is that the increase in atmospheric greenhouse gases due to human activity caused most of the warming observed since the start of the industrial era. This attribution is clearest for the most recent 50 years, for which the most detailed data are available. Some other hypotheses departing from the consensus view have been suggested to explain the temperature increase. One such hypothesis proposes that warming may be the result of variations in solar activity.
None of the effects of forcing are instantaneous. The thermal inertia of the Earth's oceans and slow responses of other indirect effects mean that the Earth's current climate is not in equilibrium with the forcing imposed. Climate commitment studies indicate that even if greenhouse gases were stabilized at 2000 levels, a further warming of about 0.5 °C (0.9 °F) would still occur.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

Terminology

The term "global warming" is a specific example of global climate change. The term "climate change" can also refer to other periods of overall temperature change such as global cooling. In common usage, the term "global warming" refers to the warming in recent decades and implies a human influence. The United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) uses the term "climate change" for human-caused change, and "climate variability" for other changes. The term "anthropogenic global warming" (AGW) is sometimes used when focusing on human-induced changes.
Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming

warm1